โดยงานนี้ไปกันแค่ 2คน เพราะว่าลูกๆ ติดเรื่องงานของมหาวิทยาลัย ส่วนแม่ผมก็คงจะไม่สะดวกเพราะว่าเป็นการนอนเต้นท์ ออกจากบ้านกัน 2 ตายายก็ประมาณ 10โมงเศษๆ ขับรถแบบชิวๆ ไปถึงจุดพักรถลำตะคองก็เที่ยงนิดๆ เพราะว่าภรรยาผมบอกว่าน้องที่ทำงานเก่าที่เป็นสายนอนเต้นท์ จะมาสบทบด้วย
รอประมาณ 5นาที ซินดี้ก็มาถึง ตอนแรกคิดว่าจะพาเพื่อนมาด้วยแต่ก็ไม่มี มาคนเคียวเก่งมากเลยขับรถมาจากนครสวรรค์-ลพบุรี จากนั้นก็มุ่งหน้าขึ้นไปยัง SSB Park ที่เป็นจุดหมายปลายทางกัน แต่ภรรยาผมบอกว่าเขาไม่ให้ปักหมุดตรงไปที่ SSB Park เลย เพราะว่าแผนที่ Google จะพาวิ่งไปทางที่เป็นทาง Off Rode
ซึ่งจะอันตรายมาก เขาให้ปักหมุดเป็นช่วงๆ โดยตอนแรกให้ปักหมุดไปที่ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคองก่อน จากนั้นให้ปักหมุดตอไปที่ วัดเขายายเที่ยงใต้ แล้วถึงจะปักต่อไปที่ SSB Park ถึงจะเป็นทางปกติ ที่เขาวิ่งกัน ไม่น่าเชือว่าจาก จุดพักรถลำตะคอง 12:30 ขึ้นไปจนถึงที่ SSB Park เกือบบ่ายสองโมง... ทางขึ้นเขาตลอด เป็นถนนปูนเลยศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ไปได้ไม่ไกล ก็เปลี่ยนเป็นถรรดินแดง สลับกับถนนปูเป็นช่วงๆ ถ้าเป็นช่วงหมู่บ้านก็จะเป็นปูน ถ้าผ่านหมู่บ้านไปแล้วก็เปลี่ยนเป็นดินแดง และก็มีชันบ้างเป็นบางจุด บอกตรงๆ เลยว่าโชคดีมากที่ฝนไม่ตก ไม่อย่างนั้นรับรองว่าขึ้นไม่ได้แน่นอน
แต่ว่าพอถึงที่ SSB Park เท่านั้น วิวแรกที่เห็นก็ทำให้หายเหนื่อยกันเลยทีเดียว ตามรูปแรกเลยครับ เป็นหน้าผาเห็นวิวด้านล่างเป็นอ่างเก็บน้ำลำตะคองสีเงินแดดส่องผ่าเมฆลงมาเป็นสาย สวยงามมาก แต่ว่านี่เรามาช้าไปหรือเปล่า เพราะว่าจุดใกล้หน้าผาถูกจองจนเกือบจะเต็มแล้ว เรียกว่า เราเป็นรถ 2 คันสุดท้ายที่ได้จุดจอดริมผา
แต่ไปไกลสุด ห่างจากห้องน้ำประมาณ 300-400เมตรเลย แต่ก็ไม่มีปัญหา รีบจอดรีบปักเต้นท์ จะได้ทำกับข้าวกินกัน เพราะหิวมากยังไม่ได้กินข้าวเที่ยงกันเลย หลังจากกวงเต้นท์ เสร็จเรียบร้อย ภรรยาผมกับรุ่นน้องก็เขาก็นั่งทำกับข้าวกัน ส่วนผมก็ออกไปเดินสำรวจ และถ่ายรูปเล่น ก็พบว่า เทรนการนอนเต้นท์ เดี๋ยวนี้พัฒนากันไปมากจริงๆ บางคนมาเป็นรถตู้กันเลย ตัดหลังคาทำเป็นที่นอน มีห้องอาบน้ำส่วนตัว ใช้แผงโซล่าเซลล์มาผลิตไฟฟ้าเพื่อเปิดแอร์นอนตอนกลางคืน เต้นท์ที่ติดตั้งบนหลังคารถเลย ก็มีเยอะหลายแบบ น่าสนใจมาก
จากนั้นเมื่ออาหารเสร็จ เราก็นั่งกิน ดื่ม คุยเรื่องความหลัง และถามไถ่ ความเป็นอยู่ในปัจจุบันกัน จากนั้นท้องฟ้าก็ค่อยๆ เปลี่ยนสี พระอาทิตย์ก็ค่อยๆ ลับขอบฟ้าไป เสียดายที่เมฆเยอะมากไปหน่อยเลยไม่เห็นพระอาทิตย์ตกเป็นดวงแดงๆ กลมๆ แต่แค่นี้ก็เรียกว่าสวยมากแล้ว แสงสีแดงสะท้อนกับผิวน้ำในอางเก็บน้ำทำให้ทุกอย่างยิ่งแดงขึ้นไปอีก
และเมื่อพระอาทิตย์ยิ่งหายไป ไฟส่องสว่างต่างๆ ก็จะยิ่งชัดมาขึ้นยิ่งทำให้ดูสวยมากขึ้น โดยเฉพาะดาวเคียงเดือน และวิวเมืองปากช่องยามราตรีที่อยู่ตรงหน้า บวกกับลมแรงๆ เย็นๆ พัดเข้ามาปะทะตัวเรา ตลอดเวลาทำให้รู้สึกถึงความหนาวได้เหมือนกัน อยากบอกว่าลมแรงจริงๆ มิน่าเขาถึงเลือกเป็นที่ตั้งของกังหันลม อุณหภูมิคาดว่าน่าจะประมาณ 24-26 องศา แต่ว่าลมแรงมาก เลยทำให้เรารู้สึกหนาว เหมือนกับเปิดแอร์ และเปิดพัดลมไปด้วย
และไม่นานพระอาทิตย์ ก็หายไป คงเหลือเอาไว้แต่ความมืด และน้ำค้าง... อยากบอกว่าน้ำค้างแรงมาก ประมาณ 3ทุ่มเศษๆ ผ้าเต้นท์ และทุกอย่างเปียกไปหมด ขนาดเป็นผ้าที่สามารถกันน้ำได้อย่างดี หยดน้ำค้างยังแทรกตัวลงมาได้ ซึ่งก็คงจะได้เวลาล้างถ้วย ล้างชาม อาบน้ำแล้วก็พักผ่อนกันแล้ว
เช้าวันต่อมา อยากบอกว่าบรรยายกาศดีมาก ลมก็ยังแรงต่อเนื่อง เห็นหมอกปกคุมอยู่เหนือยอดไม้เบื้องล่างได้อย่างชัดเจน เลยต้องขอบันทึก VDO เอาไว้ซักหน่อย นี่ขนาดยังไม่หน้าหนาวยังสวยขนาดนี้ นี้ถ้ามาช่วงหน้าหนาว ก็คงจะสวยมากขึ้นไปอีก เบื้องหน้าอาจจะเป็นทะเลหมอกเหมือนอย่างทางภาคเหนือก็เป็นได้ จากนั้นกิจวัตรประจำวันก็เริ่มต้นขึ้น ด้วยการล้างหน้าปลงฟัน ก่อเตา ต้มน้ำชงกาแฟ และหุงหาอาหารเช้า รอให้พระอาทิตย์แผดเผาทุกอย่างให้แห้งก่อนที่จะทยอยเก็บ ซึ่งก็ปาเข้าไปใกล้ๆ เที่ยง จากนั้นก็เก็บทุกอย่างก่อนที่จะเดินทางกลับบ้าน ความจริงแล้วข้างบนเขามีจุดแวะเที่ยวอยู่หลายที่ แต่วันนั้นภรรยาเขามีธุระต่อตอนสี่โมงเย็น เลยจำเป็นต้องรีบกลับกัน น่าเสียดายอยู่ แต่ว่าไม่เป็นไร รู้จักกันแล้ว เดี๋ยวก็แวะมาได้เรื่อยๆ
อยากบอกว่าข้างบนมีรีสอจ์เอกชนเยอะมากมาย จริงๆ แต่อยากให้ช่วยกันปลูกต้นไม้ใหญ่เอาไว้ด้วย ไม่ใช่มีแต่สิ่งปลูกสร้างที่เป็นเหล็ก เป็นปูน เป็นหิน จนไม่เหลือดิน ไม่เหลือต้นไม้ เพราะว่ายังไงเขาก็จะเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ และการจะมีน้ำได้ก็จะต้องมีต้นไม้เยอะๆ เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ และยังช่วยชลอน้ำฝนที่ตกลดมาสู่ดินด้วย อย่าแค่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ใส่ตัวเท่านั้น ต้องมองไปถึงอนาคตรุ่นลูก รุ่นหลาน ว่าเขาจะยังมีโอกาสได้เห็นธรรมชาติแบบนี้อยู่
จบทริปครบรอบแต่งงาน 23ปี แบบ Happy Ending ครับ เอาไว้พบกันใหม่ทริปหน้า เพราะลมหนาวกำลังจะมาแล้ว . . .
By: KCAN