หลายคนอาจจะรู้จัก และคุ้นเคยกับเครื่อง AED นี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในวงการแพทย์ วงการกู้ชีพฉุกเฉิน แต่ผมเชื่อว่ายังเป็นคนส่วนน้อยของสังคมที่รู้จักกับเจ้าเครืองนี้ และรู้ถึงความสำคัญและใช้งานเจ้าเครื่องนี้เป็น แต่คนส่วนใหญ่ในสังคมผมเชื่อว่าไม่รู้จักกับเจ้าเครื่องนี้เลย และให้ความสำคัญกับเจ้าเครื่องนี้น้อยมากๆ เพราะคิดเสมอว่าเป็นเครืองมือทางการแพทย์ และคนที่ใช้ก็ควรจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก
AED (Automatic External Defibrillator) หรือเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดกึ่งอัตโนมัติ และ/หรืออัตโนมัติ 100% คือเครื่องที่จะช่วยวินิจฉัยและช่วยชีวิตผู้ป่วยที่เกี่ยวกับโรคหัวใจฉับพลัน ด้วยการช็อตไฟฟ้า ทำให้สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
ปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีตู้เก็บเครื่อง AED และป้ายแสดงตำแหน่งการวางเครื่องในหลายๆ พื้นที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่สนามบิน และอื่นๆ กันมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีซักกี่คนที่รู้ว่ามันใช้งานยังไง เวลาที่พบผู้ป่วยล้มลงหมดสติอยู่ตรงหน้า...
ถ้าหากว่าคุณพบคนใกล้ตัว เพื่อนฝูง หรือญาติพี่น้อง หรือใครก็ไม่รู้ ล้มลง และหมดสติอยู่ตรงหน้า สื่งที่คุณต้องรีบทำคือ ดูอาการของผู้ป่วยคนดังกล่าวก่อนว่าเขายังหายใจเป็นปกติอยู่หรือเปล่า หรือหยุดหายใจ หรือมีอาการหายใจแบบที่เราเรียกว่า เฮือก คือคนใจสิ้นลมหายใจแล้ว...
จากนั้นสิ่งที่คุณต้องรีบทำคือ การขอความช่วยเหลือจากคนแถวๆ นั้น ด้วยการตะโกนออกไปดังๆ "ช่วยด้วย ช่วยด้วย มีคนหมดสติ ช่วยโทร 1669 หาเครื่อง AED มาด้วย"
ทั้งนี้การโทรแจ้ง 1669 จะต้องแจ้งพิกัดหรือตำแหน่งที่เกิดเหตุให้เจ้าหน้าที่ทราบอย่างชัดเจนด้วย เพื่อความรวดเร็วในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ และเราจะต้องทำการช่วยเหลือในเบื้องต้นก่อนที่ เจ้าหน้าที่จะมาถึง ด้วยการทำ CPR (กดหน้าอก) หรือ อย่างน้อยก็ทำหน้าที่ติด PAD ของเครื่อง AED เข้ากับตัวผู้ป่วย และให้เครื่อง AED ทำหน้าที่ช่วยชีวิตผู้ป่วยไปเรื่อยๆ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะมาถึง
คลิป VDO การใช้งานเครื่อง AED
ในบล๊อกนี้ เราจะพูดกันถึงรายละเอียดของเครื่อง AED กันว่าถ้าหากเราจะเลือกซื้อเครื่อง AED ซักเครื่อง เราควจจะต้องรู้อะไรบ้าง
1) ลักษณะการทำงาน เครื่อง AED ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2ประเภทดังนี้
1.1) แบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งจะเหมาะกับบุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานกู้ชีพ ที่ได้รับการฝึกอบรม จุดสังเกตุของรุ่นกึ่งอัตโนมัติคือ มีปุ่มปล่อยพลังงานไฟฟ้า คือเวลาจะปล่อยพลังงานออกมาช๊อตผู้ป่วย จะต้องทำการกดปุ่มช๊อตทุกครั้ง
ข้อดี คือปลอดภัยกับผู้ใช้ เพราะเวลาจะปล่อยพลังงานเพื่อช๊อตผู้ป่วย ผู้ใช้จะเป็นคนกดปุ่ม
ข้อเสีย คือถ้าคนทั่วๆ ไป อาจไม่ได้กด (ลืม) หรือไม่กล้ากดปุ่มปล่อยพลังงานออกมาช๊อตผู้ป่วย
1.2) แบบอัตโนมัติ จะเหมาะกับคนทั่วๆ ไป (ภาคประชาชน) บุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานกู้ชีพ ที่ได้รับการฝึกอบรม จุดสังเกตุของรุ่นอัตโนมัติคือ ไม่มีปุ่มปล่อยพลังงานไฟฟ้า คือเวลาจะปล่อยพลังงานออกมาช๊อตผู้ป่วย จะแจ้งด้วยภาพและเสียงจากนั้นจะปล่อยพลังงานออกมาช๊อตเองโดยอัตโนมัติ
ข้อดี คือเครื่องจะปล่อยพลังงานออกมาช๊อตผู้ป่วยเองโดยอัตโนมัติ ถ้าวิเคราะห์แล้วว่าเกิดจากปัญหาการเต้นของหัวใจ และจะทำซ้ำไปเรื่อยๆ เองจนกว่าหัวใจผู้ป่วยจะกลับมาเต้นอีกครั้ง
ข้อเสีย คือความปลอดภัย คือต้องตั้งใจฟังสิ่งที่เครื่องแจ้งออกมาตลอดเวลา เพราะเวลาที่เครื่องปล่อยพลังงานออกมาช๊อตผู้ป่วย แล้วมีใครแตะตัวผู้ป่วยอยู่ก็อาจถูกไฟช๊อตได้
คุณลักษณะที่สำคัญในการเลือกเครื่อง AED
2) เทคโนโลยี่การวิเคาระห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะต้องการผ่านมาตราฐานต่างๆ ที่กำหนดเอาไว้โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น AHA, ERC, หรือ อย. เป็นต้น
3) รูปแบบของคลื่นไฟฟ้าที่ปล่อยออกไปช๊อตผู้ป่วยว่าเป็นแบบ Biphasis (ฺBTe) หรือไม่
4) พลังงานที่ปล่อยออกมากระตุกไฟฟ้าหัวใจ ว่ามากน้อยเท่าไหร่ (หน่วยวัดเป็น จูล)
5) ความเร็วในการช๊อตในครั้งแรก หลังเปิดเครื่อง จนถึงพร้อมช๊อตว่าใช้เวลาสั้นเท่าไหร่ (หน่วยวินาที)
6) ความทนทานของแบตเตอรี่ ว่ามีความจุเท่าไหร่ ใช้งานได้กี่ครั้ง (กี่ช๊อต) ที่พลังงานเท่าไหร่
7) การแสดงความพร้อมใช้งานของเครื่อง แสดงอย่างไร เห็นชัดเจนหรือไม่ ถ้าแบตฯ ใกล้หมดมีการแจ้งเตือนมั๊ย อย่างไร
8) การรับประกันตัวเครื่องพร้อมวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ เช่นแบตเตอรี่ และ PAD เป็นต้น
9) สถานที่ที่ใช้เครื่อง เช่นความสูงเหนือระดับน้ำทะเล บนภูเขา บนเครื่องบิน บนเฮลิคอปเตอร์ หรือบนรถฉุกเฉิน ซึ่งจะมีมาตราฐานการทดสอบต่างๆ รองรับเอาไว้ ว่าสามารถผ่านทุกมาตราฐานหรือไม่
10) การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้เครื่อง เช่น ภาษาที่ให้การช่วยเหลือเลือกได้กี่ภาษา ภาพประกอบ และอื่นๆ
11) มีสัญญาณนาฬิกาบอกความถี่เพื่อช่วยในการกดหน้าอกผู้ป่วยหรือไม่
12) มีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ในการใช้เครื่องหรือไม่
13) เครื่องสามารถทดสอบตัวเองว่ายังพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาหรือไม่
14) ผ่านมาตราฐานการตกกระแทกที่ความสูงเท่าไหร่ และผ่านกี่ด้าน ?
15) ผ่านมาตราฐานกันน้ำ กันฝุ่น หรือไม่
16) สามารถใช้กับเด็กได้ด้วยหรือไม่
17) ราคาเครื่อง และราคาวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ
18) รูปร่าง และน้ำหนักของเครื่อง
By: K.C.A.N
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น